เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงฉบับใหม่ รู้ก่อนไปสมัคร อบรม จป ออนไลน์ 

Ashland Parks  » Lifestyle »  เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงฉบับใหม่ รู้ก่อนไปสมัคร อบรม จป ออนไลน์ 
0 Comments

ไหนใครวางแผนจะไปสมัคร อบรม จป ออนไลน์บ้าง คุณรู้เรื่องกฎกระทรวงฉบับใหม่แล้วหรือยัง หลายคนคุ้นเคยกับกฏกระทรวง กำหมดมาตรฐานในการบริหาร การจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี พ.ศ. 2549 แต่รู้หรือไม่ว่าตอนนี้ ฉบับเดิมได้ถูกยกเลิกไปแล้ว เปลี่ยนเป็น กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2556 

รายละเอียดกำหนดไว้ 5 หมวด  

รายละเอียดมีทั้งหมด 5 หมวดด้วยกัน ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะ หมวดที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีการแบ่งประเภทกิจการ ที่จำเป็นต้องมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือ จป โดยแบ่งเป็น 3 บัญชี รวม 64 ประเภทกิจการ จากเดิมหรือกฎหมายฉบับเก่าในปร พ.ศ. 2549 ซึ่งได้กำหนดไว้เพียง 14 ประเภท นอกจากนั้นกฎหมายใหม่ยังได้มีการเพิ่มเติม แบ่งประเภทของ จป ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง มี 2 ระดับ คือ จป หัวหน้างานและ จป บริหาร เมื่อนายจ้างที่มีลูกจ้างตามจำนวนที่กำหนดต้องจัดให้ลูกค้าระดับหัวหน้างานทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานหรือ จป หัวหน้างาน ภายใน 120 วัน นับจากวันที่มีลูกค้าครบตามจำนวน จป หัวหน้างานจะต้องผ่านการอบรม จป หรือ อบรม จป ออนไลน์ในระดับหัวหน้างาน  สำหรับ จป บริหารต้องเป็นลูกจ้างในระดับบริหาร และต้องผ่านการอบรม จป บริหารเช่นกัน 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ มี 3 ระดับ ได้แก่ จป เทคนิค จป เทคนิคขั้นสูง และ จป วิชาชีพ จป เทคนิคจะต้องผ่านการอบรมมาก่อน ส่วน จป เทคนิคขั้นสูงและ จป วิชาชีพต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด 

จำนวนลูกจ้างและการมี จป ตามกระทรวงฯ พ.ศ. 2565 

  • สถานประกอบกิจการ บัญชีที่ 1 มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป หัวหน้างานและฝ่ายบริหารทุกคนต้องเป็น จป โดยตำแหน่ง มี จป วิชาชีพอย่างน้อย 1 คน 
  • สถานประกอบกิจการ บัญชีที่ 2 มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป หัวหน้างานและฝ่ายบริหารทุกคนต้องเป็น จป โดยตำแหน่ง มี จป เทคนิคอย่างน้อย 1 คน กรณีมีลูกจ้าง 20-49 คน และ จป เทคนิคขั้นสูงอย่างน้อย 1 คน เมื่อมีลูกจ้าง 50-99 คน จป วิชาชีพอย่างน้อย 1 คน เมื่อมีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป 
  • สถานประกอบกิจการ บัญชีที่ 3 มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป หัวหน้างานและฝ่ายบริหารทุกคนต้องเป็น จป โดยตำแหน่ง

ก่อนจะไปอบรม จป หรือ อบรม จป ออนไลน์กับศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ ควรรู้เรื่องพวกนี้ไว้ไม่เสียหาย กฎหมายฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายเดิม หลายประเด็นเลยทีเดียว